ดอกไม้สำหรับคุณ

บทเพลง สัญาญาก่อนนอน

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มทร.ธัญบุรีพัฒนาเครื่องกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์

ก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรมาถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ ในขณะที่พลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลกำลังขาดแคลน

 





            ก๊าซชีวภาพก็เป็นพลังงานทดแทนชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ในปริมาณที่มาก สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้ามคือ การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับนำไปใช้ เพื่อผู้ใช้ได้รับประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
 ด้วยตระหนักในความสำคัญดังกล่าว นาย เรวัติ ซ่อมสุข  นักวิจัยจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้คิด พัฒนาเครื่องกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ สำหรับก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ
            อย่างที่ทราบกันดีว่า ก๊าซชีวภาพคือก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ได้จากการหมักของเหล้า เบียร์ แป้งมันสำปะหลัง และมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์  ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อน เช่นใช้หุงต้มในครัวเรือน เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
 นายเรวัติเปิดเผยว่า องค์ประกอบของก๊าซชีภาพ ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน(ร้อยละ55-60) คาร์บอนไดออกไซค์(ร้อยละ39-44) และอีกร้อยละ 2 ได้แก่ ไอโดรเจนซัลไฟล์ และไอน้ำ ซึ่ง ไฮโดรเจนซัลไฟด์นี่เอง ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการผุกร่อนของเครื่องยนต์และอุปกรณ์ที่ใช้แก๊ส ซึ่งแม้ ไอโดรเจนซัลไฟด์จะมีปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็มีอันตรายต่อสุขภาพ และส่งกลิ่นรบกวน
 หลังจากที่ได้ศึกษาทำให้พบว่า กระบวนการกำจัดไอโดรเจนซัลไฟล์มีความสำคัญ แต่ในปัจจุบันการกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ยังเป็นเรื่องยุ่งยากเกษตรกรไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง  ทำให้เกิดแนวคิดประดิษฐ์ อุปกรณ์ กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ขึ้น

            เครื่องกำจัดไอโดรเจนซัลไฟล์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ถังที่1 เป็นถังบรรจุเศษเหล็กฝอยซึ่งฝอยเหล็กทำหน้าที่กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีการติดตั้งถังสำหรับใส่ปูนขาว(ได้จากการผสมระหว่างปูนขาว กับน้ำ ในอัตราส่วน ปูนขาว 20 กรัม ต่อน้ำ 30ลิตร) ถังที่ 2 ถังระบบสเปรย์น้ำ และถังที่ 3 บรรจุถ่านเพื่อกำจัดกลิ่นของก๊าซที่ได้จากมูลสุกร
            จากการทดสอบแล้วพบว่า ค่าของไอโดรเจนซัลไฟล์ลดลงเป็นที่น่าพอใจ เมื่อนำนำก๊าซชีวภาพมาผ่านชุดกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์แล้วบรรจุลงถังก๊าซหุงต้มขนาด 15 กก.ที่ระดับรงดัน 180 psi เวลาที่ใช้ในการบรรจุ 14.50 นาที สามารถนำไปใช้งานได้ 1 ชั่วโมง 20 นาที และสามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจแนวทางการกำจัดก๊าซไอโดรเจนซัลไฟด์ สำหรับก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร สามารถสอบถามรายละเอียดไปได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-549-4747

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น