ดอกไม้สำหรับคุณ

บทเพลง สัญาญาก่อนนอน

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

‘มุ้งนาโน’ ปลอดภัย ไร้ยุงกวน

นักวิจัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประยุกต์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี มาพัฒนาเส้นใยมุ้งให้มีคุณสมบัติป้องกันยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ









        ย้อนกลับไปในช่วงปีที่ผ่านมา เชื่อว่าแทบทุกบ้านไม่พลาดที่จะหาซื้อเสื้อเหลืองนาโนมาไว้ในครอบครอง เพราะคุณสมบัติเด่นที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี เรียกว่าหยิบมาใส่ซ้ำก็ไม่ต้องหวั่นว่าจะเกิดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ วันนี้นาโนเทคโนโลยีกลับมาใหม่ในรูป “มุ้งนาโน” ที่ไม่ได้ป้องกันแบคทีเรีย แต่ป้องกันยุง ไม่ให้เข้าใกล้มุ้งได้ 100%
        แม้มุ้งจะถูกออกแบบมาเพื่อกันยุงแต่ก็ต้องยอมรับว่าตื่นเช้ามาทีไรเป็นเป็นเห็นยุงตัวเป้ง นอนนิ่งอยู่ข้างๆ ด้วยความที่บินไม่ไหว หลังจากได้สูบเลือดคนในมุ้งเข้าไปจนพุงป่อง
 นั่นเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้ ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี นักวิจัยหนุ่มวัย 33 ปี จากศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมนาโนและไบโอพลาสติก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตัดสินใจเดินหน้าประยุกต์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีมาพัฒนาเส้นใยมุ้งให้มีคุณสมบัติกันยุง

        แนวคิดนี้โดนใจเจ้าของ บริษัท ไทยเบสเน็ท แมนูแฟคเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตมุ้งรายใหญ่ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่เป็นแรงผลักจนทำให้การวิจัยได้เริ่มต้นจริงตั้งแต่ในห้องแล็บไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม
        เขา เล่าว่า งานวิจัยเริ่มต้นตั้งแต่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของยุง จนกระทั่งเข้าใจว่าธรรมชาติของยุงมักจะชอบเกาะอยู่ที่มุ้ง ก่อนที่พวกมันจะใช้หัวมุดแทรกตัวเข้าไประหว่างช่องว่างของเส้นใย ซึ่งวิธีปราบยุงได้ดีที่สุดเห็นทีจะต้องเคลือบสารฆ่ายุงลงบนเส้นใย เพราะในแง่ของการผลิตคงไม่สามารถทอเส้นใยให้มีขนาดเล็กได้มากกว่านี้ได้แล้ว
         “ในตอนแรกเรารู้เพียงว่ามีสารเคมีตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการไล่ยุง อีกทั้งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างเลียนแบบสารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การยอมรับ” เขากล่าวและบอกว่า งานวิจัยเริ่มต้นจากการนำสารเคมีฆ่ายุงมาเคลือบลงบนเส้นใย ลองผิดลองถูก จนกระทั่งสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผสมโดยใช้สารตัวกล่างช่วยในการยึดติดหรือ มาสเตอร์แบทซ์ ลงบนเส้นใยได้สำเร็จ
         “สารฆ่ายุงมีฤทธิ์ทำให้ยุงเป็นอัมพาต หลังจากพวกมันใช้ขาทั้ง 2 ข้างเกาะอยู่บนเส้นใยมุ้ง ก่อนที่จะแรกตัวเข้ามา ยิ่งเกาะนานเข้าขาของยุงก็จะเริ่มอ่อนแรง ตกลงที่พื้น หรือบินหนีไป และไม่กล้าเข้าใกล้มุ้งอีกเลย” เจ้าของผลงานกล่าว
          เทคนิคดังกล่าวได้รับความสนใจจากภาคเอกชนทั้งที่ร่วมทำวิจัย โดยเทคนิคเคลือบสารลงบนมุ้งที่ทอเสร็จแล้ว สามารถทนต่อการซักได้ 20 ครั้ง ซึ่งปกติมุ้งจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี จากนั้นเส้นใยพลาสติกก็จะเริ่มกรอบและฉีกขาด
         ศักยภาพของของมุ้งฆ่ายุงจากการวิจัยเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ที่สนใจขอใช้สิทธิเทคโนโลยี เนื่องจากไม่ต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตมากนัก หรือไม่เกิน 20 % โดยเทคนิคการเคลือบสารลงบนเส้นใย ข้อดีคือทนทานต่อการซักมากกว่า แต่ข้อเสียคือต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับได้ประสิทธิภาพได้ที่นั้นถือว่าคุ้มค่า
          “องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเชื่อว่าอยู่ได้ไม่เกิน 1-2 ปี เพราะตอนนี้ทั่วโลกให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนาโนเทคโนโลยีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเกาหลี และญี่ปุ่น ที่มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าหากเราไม่เดินพัฒนาองค์ความรู้เป็นของตัวเอง อีกไม่นานเชื่อว่าเราจะต้องวิ่งตาม หรือนำเข้าเทคโนโลยีเข้ามาอย่างเดียว” เขากล่าวยอมรับ
           ด้วยเหตุนี้ทำให้ ดร.ระพีพันธ์  เดินเครื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์มุ้งนาโนในรูปแบบต่างๆ ทั้งมุ้งที่ขายเป็นหลัง และมุ้งเต้นท์พกพา นอนได้ 2-3 คน เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานต่อยอดไปได้เรื่อย จนกระทั่งล่าสุดมีบริษัทเอกชนสนใจร่วมพัฒนามุ้งลวดนาโน ซึ่งเขาเชื่อว่าจะเป็นสินค้าที่โดนใจคนเมือง เจาะเขาไปในตลาดเฉพาะทางมากขึ้น
            “ทุกวันนี้คนเมืองไม่กางมุ้งนอน แต่ปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องติดมุ้งลวดเอาไว้กันยุง ซึ่งสิ่งที่เห็นจนชินตาคือยุงเกาะติดอยู่ตามมุ้งลวด วิธีการไล่ของยุงของคนเมือง ไม่ถึงขั้นฆ่าให้ตาย แค่ยุงบินมาเกาะไปแล้วหนีไป แค่นั้นคนใช้ก็แฮปปี้แล้ว” เขาออกความเห็น
 สิ่งที่นักวิจัยมองว่าน่าจะนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพของมุ้งลวดได้นั้น ส่วนหนึ่งมาจากมุ้งลวดที่ปัจจุบันที่เคยทำจากเส้นใยอลูมิเนียมเริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากผู้ผลิตหันมาใช้เส้นใยพลาสติก ประเภทโพลิเมอร์และไนลอนแทน ซึ่งให้คุณสมบัติที่ดีกว่า ขณะที่ตัวเขาเองมีความคุ้นเคยกับเส้นใยพลาสติกและสารนาโนเป็นอย่างดี
           อย่างไรก็ตาม ดร.ระพีพันธ์  พร้อมด้วยนักวิจัยจากศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมนาโนและไบโอพลาสติกจะยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมที่มีศักยภาพ โดยเปิดรับโจทย์จากภาคเอกชน พร้อมทั้งมองหาไอเดียที่สามารถต่อยอดเป็นโปรดักซ์ใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง
โดยยืนยันว่า “งานวิจัยที่สำเร็จได้ต้องประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Head หรือคนคิด ใครใครก็คิดได้ ด้วยหลักการที่คล้ายกัน แต่ถ้าไม่มี Hand หรือคนที่จะเอางานวิจัยไปต่อยอด และ Hard คือคนที่ทำการตลาด งานวิจัยถึงแม้จะพิสูจน์แล้วก็ไม่มีทางขายได้ หากขาดองค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมด”

ขาเทียม - หุ่นยนต์รดน้ำ โชว์ความสามารถเด็กไทย

ขาเทียมหุ่นยนต์เพื่อคนพิการ และ หุ่นยนต์รดน้ำอัตโนมัติ 2 โครงงานหุ่นยนต์ โชว์ความสามารถของเด็กไทย ในการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกปี 2554


          ปี 2554 ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก โดยจะมีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้กว่า 90 ประเทศ และเป็นเวทีการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ และเป็นที่สนใจอีกรายการหนึ่ง

          เมื่อเร็วๆนี้   สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  ได้จัดโครงการ  IPST  ROBOT CONTEST 2010  ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่สร้างความตระหนักและความตื่นตัวในการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้กับเยาวชนไทย   โดยหนึ่งในกิจกรรม คือ  การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
          โครงงานที่อยากแนะนำให้รู้จัก คือ  “โครงงานขาเทียมหุ่นยนต์เพื่อคนพิการ” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานของ นส.ภัทร์ธีรา  ทุ่งโพธิ์แดง และนส.สุชานันท์  ป้อมบุญมี  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก  และ “โครงงานหุ่นยนต์รดน้ำอัตโนมัติ”   ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ2  ผลงานของ นส.วิจิตรา  จันอุทัย และ นส.จตุพร   นิยมสำรวจ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย    จากโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี  จังหวัดอุตรดิตถ์
          “โครงงานขาเทียมหุ่นยนต์เพื่อคนพิการ”  น้องฝ้าย หรือ นส.ภัทร์ธีรา   ทุ่งโพธิ์แดง เล่าถึงแรงบันดาลใจว่า มาจากการที่ได้เห็นหุ่นยนต์ ASIMO ของญี่ปุ่นที่สามารถเดินและวิ่งได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มาก  จึงเกิดข้อสงสัยว่า ในเมื่อหุ่นยนต์ที่เป็นเครื่องจักรยังสามารถเดินได้เหมือนมนุษย์ แล้วทำไมคนพิการที่ขาขาด เขาจะกลับมาเดินเป็นปกติเหมือนกับคนอื่นๆไม่ได้  พอดีมีโครงการของ สสวท.ขึ้นมา  ก็เลยชวนเพื่อนมาช่วยกันทำโครงงานนี้    ตอนแรกไม่คิดว่าจะได้รางวัลระดับประเทศ  เพราะคิดว่าโครงงานฯยังดีไม่พอ  แต่เมื่อได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ก็ดีใจมาก
           น้องฝ้าย  บอกว่า   ความรู้ที่ต้องนำมาใช้ในการคิดโครงงานนี้ มีอยู่หลากหลายสาขาเป็นการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้าน ฟิสิกส์ ชีววิทยา  คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์  รวมทั้งความรู้ทางวิศวกรรมด้วย แต่หลักๆที่นำมาใช้ในเบื้องต้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวกลศาสตร์ และพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์   โดยได้แนวคิดมาจากท่าทางการเดินของคนที่จะมีการแกว่งแขนสัมพันธ์กับการก้าวขา  จึงนำข้อสังเกตนี้ไปใช้ในการสร้างฟังชันก์ในการเขียนโปรแกรมควบคุมขาเทียมโดยสร้างขาเทียมให้รองรับกับแนวคิดนี้
         “หนูสนใจทางด้านหุ่นยนต์มาก  เพราะตอนเด็กๆคุณแม่พาไปงานที่ ไบเทค ได้เห็นหุ่นยนต์ต่างๆน่าอัศจรรย์มากที่สามารถทำสิ่งต่างๆทดแทนมนุษย์ได้ทั้งๆที่เป็นแค่เพียงเศษชิ้นส่วนเล็กๆ เลยเกิดความสนใจขึ้นมาอยากสร้างหุ่นยนต์บ้าง  แต่ต้องรู้วิธีการสั่งการหุ่นยนต์ก่อน  จากนั้นจึงเริ่มศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ค่ะ”
          น้องฝ้าย ยังบอกอีกว่า  ในอนาคตอยากจะศึกษาในด้านหุ่นยนต์อย่างจริงจัง โดยอยากจะเข้าศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาแมคคาทรอนิกส์ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และอยากศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น  เพราะมีชื่อเสียงทางด้านหุ่นยนต์  เพื่อจะได้กลับมาเป็นนักวิจัยที่ประเทศไทยสร้างสรรค์ผลงานที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
          ส่วนการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศนั้น  น้องฝ้าย เสนอว่า  การแข่งขันโอลิมปิกฯ ที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีการเผยแพร่ข้อสอบหลังการแข่งขัน คิดว่าถ้ามีการเผยแพร่ข้อสอบจะเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันได้มีโอกาสทดลองทำข้อสอบ เพื่อว่าคนที่สนใจจะได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ด้วย
          ด้าน “น้องปู”  นส.สุชานันท์  ป้อมบุญมี  เพื่อนร่วมทีม บอกว่า  การทำขาเทียมหุ่นยนต์ต้องศึกษาจาก  ขาเทียมจริงๆ  ดังนั้นช่วงที่ทำโครงงานจึงไปขอคำปรึกษา คุณลุงประเสริฐ ไมตรีจิตร หัวหน้าห้องกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช  และพาไปดู พร้อมทั้งคำแนะนำวิธีการทำขาเทียมแบบต่างๆ   จึงได้นำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการทำโครงงานชิ้นนี้
         “ถ้าหนูสามารถพัฒนาต่อจนสำเร็จได้ขาเทียมที่สมบูรณ์แบบแล้ว คิดว่าผู้พิการก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไปได้ มันก็เหมือนกับการคืนชีวิตให้กับคนๆหนึ่ง  หวังว่างานชิ้นนี้เมื่อนำไปใช้ได้จริงแล้วผู้พิการก็จะมีกำลังใจในการมีชีวิตเพื่อสร้างสังคมที่ดีให้กับประเทศชาติต่อไปค่ะ”
           น้องปู ยังบอกอีกว่า  ที่สนใจทางด้านคอมพิวเตอร์เพราะเห็นว่าคอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว แต่ปัจจุบันมีแต่เพียงผู้ที่เสพเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่   มีเพียงน้อยคนนักที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยี ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นได้ เธอจึงตั้งใจว่าอนาคตอยากจะเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม
           ด้าน อาจารย์อานนท์  มากมี  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานฯ  กล่าวเสริมถึงประโยชน์จากการทำโครงงานฯว่า   การที่นักเรียนได้ทำโครงงาน ทำให้นักเรียนมีการวางแผนการทำงาน การเรียนที่เป็นระบบมากขึ้น จากการที่เรียนพิเศษมากมายทำให้ นักเรียนทำงานอย่างมีเหตุผล เห็นความสำคัญในการทำงานมากขึ้นด้วย
           ส่วน “โครงงานหุ่นยนต์รดน้ำต้นไม้”  นส.จตุพร   นิยมสำรวจ  เจ้าของโครงงานฯ เล่าถึงโครงงานชิ้นนี้ว่า   เป็นโครงงานที่คิดต่อยอดจากรุ่นพี่ที่โรงเรียน ซึ่งใช้โปรแกรม IPST MicroBOX หรือ  “ชุดกล่องสมองกล”  ที่ทางโรงเรียนจัดการเรียนการสอนให้  ซึ่งเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานทั้งหมดของหุ่นยนต์ในการตรวจวัดอุณหภูมิ การเคลื่อนที่อย่างอัตโนมัติ และการเตือนน้ำหมด 
          “หนูคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นวิชาที่มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่ง ข้อแตกต่างนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นวิชาที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา  คอมพิวเตอร์ยังเป็นตัวช่วยให้เราได้ค้นพบสิ่งแปลกใหม่ต่างๆในโลกนี้ ทั้งความรู้ทางวิชาการต่างๆ   เพื่อนในต่างประเทศ  รวมถึงการติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว และสะดวกสบายขึ้น”  น้องจตุพร บอกถึงสาเหตุที่เธอสนใจวิชาคอมพิวเตอร์ 
          สำหรับอนาคตที่วางไว้   น้องจตุพร  บอกว่าอยากศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  เนื่องจากโตมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจ  จึงชอบเกี่ยวกับเรื่องการทำธุรกิจเป็นพิเศษด้วย การทำธุรกิจต่างๆต้องมีการวางแผนการจัดการอย่างเป็นระบบ และถ้าเรามีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานจะทำให้งานมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบมากขึ้น
          ด้าน น้องวิจิตรา   จันอุทัย  เพื่อนร่วมทีม บอกว่า ช่วงที่เริ่มทำโครงงาน เธอและเพื่อน เรียนเกี่ยวกับ โปรแกรม IPST MicroBOx เพื่อใช้สำหรับโครงงานชิ้นนี้  รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ และไม่เบื่อเลย แต่เวลาในการศึกษาเรียนรู้ของวิชานี้น้อยมาก   จึงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน   และยังมีตัวอย่างรุ่นพี่นักเรียนที่ได้ไปแข่งขันหุ่นยนต์ในต่างประเทศ ช่วยจุดประกายความคิดและความฝัน   ดังนั้น จึงสมัครค่าย Hypercube XIX เป็นค่ายอบรมวิชาคอมพิวเตอร์ จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมก็รู้สึกชอบมากขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มฝึกฝนตัวเองจนได้เข้าประกวดโครงงานในครั้งนี้
          ส่วนการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ในปีหน้านั้น  น้องวิจิตรา มองว่า การแข่งขันน่าจะเป็นสิ่งที่จุดประกายความคิดและความฝันให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจในด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อในอนาคตจะได้ร่วมกันพัฒนาประเทศในโลกยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีอิทธิพลอย่างสูง  และการแข่งขันยังทำให้มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไปพร้อมกันด้วย

คลังหนังสือดิจิทัล ช่องทางอ่านของหนอนหนังสือยุคใหม่

เทรนด์ที่เห็นชัดเจนในอุปกรณ์ดิจิทัลคือ ผู้ใช้จำนานมากเริ่มใช้งานเข้าเว็บอ่านข่าว ดูคลิป ฟังเพลง หรือที่เรียกกันว่า "ดิจิทัล คอนเทนต์"



นึกไม่ถึงว่า หลังจากแอปเปิลเปิดตัวจำหน่ายไอแพดอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว อีกสองอาทิตย์ต่อมาไอแพดขาดตลาด ต้องรอจนช่วงคริสต์มาสถึงเข้ามารอบใหม่
 ที่น่าสนใจคือ ในยุทธภพคอมพิวเตอร์แท็บเลตไม่ได้มีแค่ไอแพดที่เหมือนไอโฟน แต่ไม่มีฟังก์ชันโทรศัพท์ ยังมีซัมซุง กาแลคซี่ แทบ จอ 7 นิ้ว และอีกหลายค่าย อย่าง เดลล์ สตรีก จอ 5 นิ้ว กำลังเข้าคิวรออยู่ สามารถใช้คุยโทรคุยสายและเข้าเน็ตดูหน้าเว็บแบบเต็มจอได้ด้วย
 แนวโน้มที่เห็นชัดเจนอีกประการคือ ผู้ใช้เริ่มใช้งานเข้าเว็บอ่านข่าว ดูคลิป ฟังเพลงจากอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า "ดิจิทัล คอนเทนต์" มากขึ้นเรื่อยๆ
 สุรัตน์ บัณฑิตลักษณะ กรรมการผู้จัดการบริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด วัย 32 ปี มองเห็นรูปแบบชีวิตของคนรุ่นใหม่ติดหนึบอยู่กับมือถือ และไอแพดมากขึ้น และคิดว่า การเปิดร้านหนังสือออนไลน์ถึงเวลาสุกงอมแล้ว เว็บ www.ebooks.in.th คลังหนังสือออนไลน์ที่รวบรวมหนังสือภาษาไทยจึงปรากฏตัวขึ้นมารองรับความต้องการอ่านอีบุ๊กของหนอนหนังสือคนไทย
 ร้านหนังสืออีบุ๊ก และอุปกรณ์อีบุ๊กในต่างประเทศเกิดขึ้นมาก่อนนานแล้ว ยกตัวอย่าง อะเมซอน (amazon.com) นอกจากจำหน่ายหนังสือแล้ว ยังจำหน่ายเครื่องคินเดิลสำหรับอ่านอีบุ๊กด้วย ส่วนค่ายสำนักพิมพ์ บาร์นแอนด์โนเบิลก็ออกอุปกรณ์อ่านที่ชื่อ นุก ด้วยเช่นกัน ฟากญี่ปุ่น โซนี่ รีดเดอร์ คือตัวชูโรง แต่ที่ดังในเมืองไทยคือ ไอแพดของแอปเปิล
 กระแสดังกล่าวทำให้สุรัตน์ตัดสินใจทำคลังหนังสือไทยออนไลน์ รวมถึงพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้หนังสือสามารถเปิดอ่านได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมือถือ ไอโฟน ไอแพด หรือแท็บเลตที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รวมถึงเพลย์บุ๊กจากค่ายแบล็กเบอร์รี่ ที่เขาเชื่อว่าจะเข้ามาปลุกกระแสการอ่านออนไลน์บ้านเราให้คึกคัก
 “ผมเชื่อว่า อีกไม่นานคนจะพกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวมากขึ้น และเริ่มหันมาอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพาจนเป็นเรื่องปกติ คล้ายกับยุคเริ่มต้นการมาของไอพอด ที่ทำให้รูปแบบการฟังเพลงของคนค่อยๆ เปลี่ยนไป” เขามั่นใจ
 ร้านหนังสือดิจิทัลเคยปรากฏตัวในไทยมาแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหตุผลสำคัญเป็นเพราะจำนวนอุปกรณ์พกพายังมีไม่มากพอจนกระตุ้นความต้องการอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพา อีกทั้งการอ่านอีบุ๊กในคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สะดวก ทำให้คลังหนังสือดิจิทัลในยุคแรกอยู่ในรูปแบบออฟไลน์มากกว่า
 “การจะทำให้คลังหนังสือเกิดต้องมีระบบที่มากกว่าแจกฟรี คือขายได้ด้วย โดยหนังสือในเวอร์ชั่นออนไลน์ต้องมีราคาต่ำกว่าหนังสือปกเดียวกันที่วางอยู่บนแผง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสามารถทำได้ เพราะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีต้นทุนค่าจัดพิมพ์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสุดของระบบการพิมพ์ ณ ปัจจุบัน” เขาอธิบาย
 ไม่เฉพาะแต่สำนักพิมพ์เท่านั้นที่ใช้ www.ebooks.in.th เป็นช่องทางจำหน่ายหนังสือ เจ้าของผลงานสามารถสมัครสมาชิกและอัพโหลดไฟล์หนังสือที่เป็นพีดีเอฟได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านสำนักพิมพ์ ผลงานหนังสือจะปรากฏให้คนที่สนใจได้ดาวน์โหลดไปอ่าน เจ้าของผลงาน และสำนักพิมพ์ยังลดต้นทุนค่ากระดาษ และค่าจัดส่งลงได้อีกมากมาย
 อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันโครงการสร้างคลังหนังสือออนไลน์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่เปิดตัวเป็นทางการ แต่ตลอด 1 เดือน ที่ผ่านมา หลังจากเปิดหน้าเว็บ ebooks.in.th มีหนังสือที่ถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลบรรจุอยู่ในคลังแล้ว 300 เล่มจากเครือข่าย เช่น ข่าวและบทความประชาสัมพันธ์จากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร หนังสือจากไอเน็ต ตลอดจนไฟล์อีบุ๊กภาษาไทยที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ให้มาปรากฏอยู่ในคลังหนังสือ
 คลังหนังสือซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่แจกฟรีบนเว็บอยู่แล้ว เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มช่องทางการอ่านและเข้าถึงได้มากขึ้น โดยคาดว่าเมื่อแอพพลิเคชั่นอีบุ๊กได้รับการอนุมัติ และปรากฏอยู่ในแอพสโตร์ขอแอปเปิล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อถึงเวลานั้นบรรยากาศของคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคึกคักขึ้น
 “สำหรับเรื่องของรายได้นั้น ในปีแรกเรายังไม่ได้หวังกับรายได้มากนัก เพียงแต่อยากให้คนไทยมีแอพพลิเคชั่นอีบุ๊กเป็นมาตรฐานบนเครื่อง ทันทีที่อยากอ่านหนังสือไทยต้องคิดถึงเรา รายได้คงมาในยุคหลังที่ไทยอีบุ๊กเป็นที่รู้จัก และต่อไปหนังสือที่ขายบนแผงอาจจะเปิดตัวพร้อมกับหนังสือในโลกออนไลน์ก็เป็นได้”

มทร.ธัญบุรีพัฒนาเครื่องกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์

ก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรมาถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ ในขณะที่พลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลกำลังขาดแคลน

 





            ก๊าซชีวภาพก็เป็นพลังงานทดแทนชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้ในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ในปริมาณที่มาก สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้ามคือ การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับนำไปใช้ เพื่อผู้ใช้ได้รับประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
 ด้วยตระหนักในความสำคัญดังกล่าว นาย เรวัติ ซ่อมสุข  นักวิจัยจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้คิด พัฒนาเครื่องกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ สำหรับก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ
            อย่างที่ทราบกันดีว่า ก๊าซชีวภาพคือก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ได้จากการหมักของเหล้า เบียร์ แป้งมันสำปะหลัง และมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์  ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อน เช่นใช้หุงต้มในครัวเรือน เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
 นายเรวัติเปิดเผยว่า องค์ประกอบของก๊าซชีภาพ ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน(ร้อยละ55-60) คาร์บอนไดออกไซค์(ร้อยละ39-44) และอีกร้อยละ 2 ได้แก่ ไอโดรเจนซัลไฟล์ และไอน้ำ ซึ่ง ไฮโดรเจนซัลไฟด์นี่เอง ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการผุกร่อนของเครื่องยนต์และอุปกรณ์ที่ใช้แก๊ส ซึ่งแม้ ไอโดรเจนซัลไฟด์จะมีปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็มีอันตรายต่อสุขภาพ และส่งกลิ่นรบกวน
 หลังจากที่ได้ศึกษาทำให้พบว่า กระบวนการกำจัดไอโดรเจนซัลไฟล์มีความสำคัญ แต่ในปัจจุบันการกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ยังเป็นเรื่องยุ่งยากเกษตรกรไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง  ทำให้เกิดแนวคิดประดิษฐ์ อุปกรณ์ กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟล์ขึ้น

            เครื่องกำจัดไอโดรเจนซัลไฟล์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ถังที่1 เป็นถังบรรจุเศษเหล็กฝอยซึ่งฝอยเหล็กทำหน้าที่กำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีการติดตั้งถังสำหรับใส่ปูนขาว(ได้จากการผสมระหว่างปูนขาว กับน้ำ ในอัตราส่วน ปูนขาว 20 กรัม ต่อน้ำ 30ลิตร) ถังที่ 2 ถังระบบสเปรย์น้ำ และถังที่ 3 บรรจุถ่านเพื่อกำจัดกลิ่นของก๊าซที่ได้จากมูลสุกร
            จากการทดสอบแล้วพบว่า ค่าของไอโดรเจนซัลไฟล์ลดลงเป็นที่น่าพอใจ เมื่อนำนำก๊าซชีวภาพมาผ่านชุดกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์แล้วบรรจุลงถังก๊าซหุงต้มขนาด 15 กก.ที่ระดับรงดัน 180 psi เวลาที่ใช้ในการบรรจุ 14.50 นาที สามารถนำไปใช้งานได้ 1 ชั่วโมง 20 นาที และสามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจแนวทางการกำจัดก๊าซไอโดรเจนซัลไฟด์ สำหรับก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร สามารถสอบถามรายละเอียดไปได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-549-4747

Teleconference

ความหมาย :
หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือบุคคลเป็นกลุ่ม
ซึ่งอยู่ต่างสถานที่กัน สามารถติดต่อกันในการเรียน อภิปราย
หรือการประชุมร่วมกันได้โดยอาศัยอุปกรณ์โทรคมนาคม
ที่ออกแบบมาเพื่อการประชุม ติดต่อ
หรือโดยอาศัยระบบสายโทรศัพท์ร่วมกับอุปกรณ์ขยายเสียง
อันประกอบด้วย ไมโครโฟน ลำโพง และเครื่องขยายเสียง
หรือโดยอาศัยระบบคลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณ
ผ่านดาวเทียมในการติดต่อด้วย
โทรประชุม อาจมมีขึ้นในรูปแบบการบรรยายทางไกล
(telelecture) และการสอนทางโทรศัพท์ (teleplone-base instruction)
เป็นต้น (Backer 1978:212)

รูปแบบการโทรประชุมเพื่อการศึกษาทางไกลการใช้ระบบโทรประชุมเพื่อการศึกษาทางไกล สามารถใช้ได้ 3 รูปแบบ คือ

1. Audio Teleconference
เป็นการประชุมหรือการเรียนการสอนที่พูดคุยติดต่อกันได้ด้วยเสียง
แต่ไม่เห็นหน้ากัน การติดต่อต้องอาศัยระบบสายโทรศัพท์ หรือผ่านดาวเทียมสื่อสาร
2. Computer-Base Teleconference
เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แทนโทรศัพท์
ขยายเสียงในสถานที่รับฟัง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ธรรมดาในการ
ติดต่อ ข้อมูลที่รับจะปรากฏบนจอของเครื่องคอมพิวเตอร์แทนเสียง ซึ่งการใช้อุปกรณ์
โทรประชุมแบบนี้เหมาะในการได้รับรายละเอียดของเนื้อหาข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อการ
เก็บบันทึก และเป็นการช่วยผู้เข้าร่วมมประชุมหรือผู้เรียนที่อาจมีอุปสรรคทางด้านการ
พูดและฟังด้วย

3. Video Teleconference
เป็นการใช้เครื่องวิดีโอและโทรศัพท์ในการส่งและรับภาพและข้อมูล การใช้อุปกรณ์
แบบนี้ราคาแพงและเชื่อมโยงสถานที่ได้น้อยกว่า
การติดต่อระบบนี้มีประโยชน์ในการปนะชุมหรือการเรียนการสอนในงานที่ยุ่งยากซับซ้อน
จึงเหมาะแก่การสาธิต หรือการแสดงเทคนิคใหม่ๆ ให้ชม

ข้อดีของการโทรประชุม (Teleconference)

1. ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและลดความเสี่ยงในการเดินทางไปร่วมประชุม
2. ทำให้การดำเนินงานสะดวก รวดเร็ว ทันต่อเหตุกาณ์
3. เป็นการสื่อสารสองทางที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันที
4. สามารถประชุมร่วมกันจากหลายๆ ที่ในเวลาเดียวกัน
5. สามารถส่งภาพวัตถุ หรือข้อมูล ให้แต่ละสถานที่ได้พร้อมกัน
6. สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ด้านการศึกษา การแพทย์ ฯลฯ

Instructional Package ชุดการสอน

ชุดการสอน
เป็นสื่อการสอนที่เป็นชุดของสื่อประสม (Multi-media) ที่จัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหา
และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดไว้เป็นชุด ๆ
บรรจุในซอง กล่อง หรือกระเป๋า แล้วแต่ผู้สร้างจะทำขึ้น

ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วยจึงทำให้มั่นใจได้ว่า
ชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอน
เกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย


แนวคิดและหลักการของชุดการสอน

การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน
จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง
เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียนยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม
มาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของ ชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้
ประเภทของชุดการเรียนการสอน

1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม
3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพ
องค์ประกอบของชุดการสอน

1. คู่มือครู บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ
2. เนื้อหาสาระและสื่อ
3. แบบประเมินผล

ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน

1.  กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
2.  กำหนดหน่วยการสอน
3.  กำหนดหัวเรื่อง
4.  กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ
5.  กำหนดวัตถุประสงค์
6.  กำหนดกิจกรรมการเรียน
7.  กำหนดแบบประเมินผล
8.  เลือกและผลิตสื่อการสอน
9.  หาประสิทธิภาพชุดการสอน
10.การใช้ชุดการสอน

ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู

1.  คำนำ
2.  ส่วนประกอบของชุดการสอน
3.  คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
4.  สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
5.  บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
6.  การจัดห้องเรียน
7.  แผนการสอน
8.  เนื้อหาสาระของชุดการสอน
9.  แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
10.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน 

1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา


ประโยชน์ของชุดการสอน
1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น

Instructional Module บทเรียนโมดูล

บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียนจัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา

บทเรียนโมดูล
เป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน
ได้เกิดความรู้ตามความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน
มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน
มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูล
และการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน


คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล

1. โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วน ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
    และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
2. ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง

องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)

แบบแผนของบทเรียนโมดูล
ชื่อเรื่อง (A Title Page)
ขั้นตอนของกระบวนการเรียน (The Body of the Description)
มีลำดับขั้น ดังนี้

1. หลักการและเหตุผล
2. จุดประสงค์
3. ความรู้พื้นฐาน
4. การประเมินผลก่อนเรียน
5. กิจกรรมการเรียน
6. การประเมินผลหลังเรียน
7. การเรียนซ่อมเสริม
8. ภาคผนวก (Appendix)

ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล1. การวางแผน
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน

ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล

เป็นบทเรียนสำเร็จรูป
เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่าง
เอาไว้ด้วยกัน
ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ
ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ

Teaching Machine เครื่องช่วยสอน

เครื่องสอน (Teaching Machine)
ความหมาย :

เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
 ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง
ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน

ลักษณะของเครื่องสอน
โปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบต่อก้าน อาจอยู่ในแผ่นกระดาษม้วนหรือแผ่นอาซีเตทก็ได้
ตัวเครื่องอาจเป็นซองกระดาษ กล่องไม้ หรือกล่องเหล็ก มีช่องหน้าต่างสำหรับผู้เรียน
กรอกคำตอบหรือมีปุ่มให้เลือกตอบ แล้วแต่ชนิดของเครื่องสอน

ประเภทของเครื่องสอน

1. เครื่องสอนจำพวกที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง
2. เครื่องสอนจำพวกใช้ฝึก
3. เครื่องสอนจำพวกสร้างคำตอบด้วยกลไก
4. เครื่องสอนจำพวกเลือกคำตอบแบบเชิงเส้น
5.เครื่องสอนสำหรับบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา
6. เครื่องสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก

ข้อดีของเครื่องสอน

- ป้องกันการทุจริตของผู้เรียน
- ใช้สอนผู้อ่านหนังสือไม่ออกได้
- บันทึกข้อที่ผู้เรียนผิดพลาดได้ สะดวกแก่การนำมาปรับปรุงแก้ไข
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
- ทำหน้าที่ในการสอนรายบุคคลได้ดีกว่าครู
- ไม่ดุหรือทำโทษนักเรียน
- ตัวบทเรียนราคาถูกกว่าหนังสือ
- ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้
- ใช้ได้หลายครั้ง สิ้นเปลืองน้อยกว่าบทเรียนโปรแกรมในลักษณะของตำราเครื่องสอน
   (Teaching Machine)
- เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
   ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียน
   สามารถเรียบนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการ
แสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่าง
เหมาะสม
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน (Tutorial) 
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
ที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู

2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)
ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิด
เลือกข้อถูกจากตัวเลือก

3. จำลองแบบ (Simulation)
นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้

4. เกมทางการศึกษา (Educational Game)
5. การสาธิต (Demonstration) 
นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

6. การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

7.  การไต่ถาม (Inquiry) 
ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด

8. การแก้ปัญหา (Problem Solving) 
เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9. แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ
2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง
4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน
5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก
หรือเลือกบทเรียนได้
7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคล
ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอน
มาผสมผสานกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
ของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นการเสนอเนื้อหา
3.ขั้นคำถามและคำตอบ
4.ขั้นการตรวจคำตอบ
5.ขั้นของการปิดบทเรียน
ลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี มีดังนี้

1.  สร้างขึ้นตามจุดประสงค์ของการสอน
2.  เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
3.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุด
4.  มีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล
5.  คำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน
6.  สร้างความรู้สึกในทางบวกกับผู้เรียน
7.  จัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มาก ๆ
8.  เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน
9.  มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
10.ใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงข้อจำกัด
บางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนพื้นฐานของการออกแบบ
การสอนคล้ายกับการผลิตสื่อชนิดอื่น ๆควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

E-Learning

ลักษณะสำคัญของ e-Learning

e-Learning นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น e-Learning จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ e-Learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ e-Learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ e-Learning ได้ดังนี้

Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า e-Learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ

สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI คือการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรมโดยการเพิ่มระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) และระบบบริหารจัดการเนื้อหา/หลักสูตร (Content Management System: CMS)

        รูปแสดงระบบ e-Learning





        สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning มีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan’1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่าง เป็นจริงเป็นจัง ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า e-Learning คือ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการด้านเว็บเพจเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม

         e-Learning จึงมีหมายถึง “การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน สามารถประเมิน ติดตามพฤติกรรมผู้เรียนได้เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง” โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้

* เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
* ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
* ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับหรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
* มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
* มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
* มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
* ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
* มีระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS)
* มีระบบบริหารจัดการเนื้อหา/หลักสูตร (Content Management System: CMS)